วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ฃที่  2  ธันวาคม  2557
  ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.45 น.เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 13.05 น.
Knowledge:

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  25 พฤศจิกายน  2557
  ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน08.45น.เวลาเรียน 08.40 น.เวลาเลิกเรียน12.35 น.
Knowledge:
          อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับแผนการสอนหรือกลุ่มไหนที่สงสัยมีปัญหาเรื่องแผนการสอน ให้สอบถามและปรึกษาเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไข ให้ถูกต้อง
Activities in class>>
          วันนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะคน นำสื่อวิทยาศาสตร์ของตัวเองมานำเสนออีกครั้ง เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่ เช่น  1.แรงโน้มถ่วง ทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย
        2.อากาศ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยูรอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
        3.แสง ทำให้เกิดเงา 
        4.เสียง เกิดการกระทบของวัตถุ
        5.น้ำ มีแรงดันทำให้ลอยตัว 
    และสื่อของดิฉันที่ได้ออกมานำเสนอในวันนี้ คือ ไหมพรมเต้นระบำ
ต่อมาเพื่อนได้ออกมานำเสอ 
โทรทัศน์ครู:
       -ไฟฟ้าและพันธุ์พืชอ่านเพิ่มเติม
       -การละลายของสารอ่านเพิ่มเติม
       -จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ่านเพิ่มเติม
       -แรงเสียดทานอ่านเพิ่มเติม
      -สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
วิจัย:
      -กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ อ่านเพิ่มเติม
      -ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  :อ่านเพิ่มเติม
      -การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ

กิจกรรม ไอติมหวานเย็น
Equipment :


1.น้าเปล่า
2.น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย
3.ถุง
4.กรวย
5.เกลือ
6.หนังยางรัด
7.กระชอน
8.หม้อ
9.ถ้วยผสมน้ำแดง
10.น้ำแข็ง

วิธีทำ :
 
                      1.นำน้ำเปล่าและน้ำแดงผสมกัน                                 2.ขนให้เข้ากัน

 
3.นำถุงเปล่าใส่กรวย แล้วตักน้ำแดงที่ผสมไว้ใส่ถุง

4.นำหนังยางรัดปากถุงให้สนิท

5.เอาใส่หม้อที่เตรียมไว้ แล้วเอาน้ำแข็งใส่

6.ตามด้วยเกลือ

       7.ปิดผาแล้วหมุนหม้อให้เกลือกับน้ำแข็งผสมกัน         8.กลายเป็นไอติมน้ำแดงหวาน

        การเปลื่ยนแปลงของน้ำหวาน  จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง โดยการใส่น้ำแข็งและเกลือลงไปแล้ว การที่เราใส่เกลือเข้าไปทำให้น้ำที่อยู่ในถุงด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถังเพื่อส่งความเย็นเข้าไปสู่น้ำที่อยู่ให้ถุงให้แข็งกลายเป็นไอติมได้นั่นเอง
Teaching Techniques: อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมตอบคำถาม และอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้หรือจัดกิจกรรมต่อไป
Evaluation : 
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย และฟังเพื่อนๆนำเสนอ จดบันทึกความรู้ที่ได้รับและได้ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆส่วนใหญ่แต่งกายเรียนร้อย เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังเพื่อนและอาจารย์ขณะให้ความรู้ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
ประเมินอาจารย์:อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ใช้ถ้อยคำสุภาพ พูดคุยกับนักศึกษาและให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกครั้ง และใช้คำถามปลายเปิดในการถาม เพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดและมีส่วนร่วม



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันพุธ ที่  19 พฤศจิกายน  2557
  ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 13.00น.เวลาเรียน 12.58น.เวลาเลิกเรียน13.20น.
Knowledge :
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาอ่านศึกษางานวิจัยของตนเองและแนะนำการสรุป งานวิจัย โดยสรุปหัวข้อใจความสำคัญ หรือนิยามของงานวิจัยและ โทรทัศน์ครู ที่มีการส่งเสริมและแก้ไขได้ด้วยวิธีใดและมีขั้นตอนอย่างไร
Activities in class>>
 กิจกรรมที่ 1.การทำวาฟเฟิล
Equipment,Ingredient 1.แป้งวาฟเฟิล                                        2.ไข่ไก่

                                              3.เนย                                                  4.มากะรีน(เนย)

                          5.ที่ตีแป้ง ที่ตวง แปลงทาเนย จาน                           6.ถ้วย

7.แก้ว

                                                    8.นม,น้ำ                            9.เตาอบวาฟเฟิล
การทำกจิกรรมนี้ แบ่งกลุ่ม 4กลุ่ม และแจกอุปกรณ์ส่วนผสมให้แต่ล่ะกลุ่มเท่าๆกัน
วิธีทำ:                                           เตรียมอุปกรณ์และส่วนผสม

1.เทนมลงแป้ววาฟเฟิล                             2.ตีให้เข้ากัน

 3.เท ไข่ไก่ลงไป                                  4.ตามด้วยน้ำ

                  5.และชีส                              6.ตีให้เข้ากันแล้วตักใส่ถ้วย

        7.ทาเนยลงเตาอบเวฟเฟิล          8.เทแป้งที่ปรุงเสร็จแร้วลงเตาอบ

ขนมอบวาฟเฟิล


 กิจกรรมที่ 2.การนำเสนอแผน(แก้ไข)
หน่วย สับปะรด 
จะให้เด็กจับภาพ ระหว่าง ประโยชน์และข้อเสียของสับปะรด
เช่น ประโยชน์ทำเป็นไอศครีม แยม ลูกอม
ข้อเสีย ท้องเสีย ฟันผุ ร้อนใน
หน่วย ดิน
สอนเรื่อง จับคู่  1 ต่อ 1 
จำนวนไหนที่หมดก่อน แสดงว่าน้อยกว่า
จำนวนที่ยังเหลือ แสดงว่ามีมากกว่า


Teaching Techniques: อาจารย์จะมีการอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อนเสมอในการทำกิจกรรม และให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน

Evaluation :
ประเมินตนเอง : มีความพร้อมในการเรียน มารอก่อนเวลา และทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในชั้นเรียน 
ประเมินเพื่อน : มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน เกิดสามัคคีในกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : มีคำแนะนำให้นักศึกษาตลอดเวลา 





วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  11 พฤศจิกายน  2557
  ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน08.40น.เวลาเรียน08.30น.เวลาเลิกเรียน12.50น.
Knowledge:
Activities in class>>
กิจกรรมที่ 1. วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือจากอาทิตย์ที่แล้ว ออกมานำเสนอแผนการสอนของหน่วยตัวเอง โดยหน่วยดังต่อไปนี้
1.หน่วย สับปะรด
การทำน้ำผลไม้
2.หน่วย ส้ม
การนับจำนวนของส้ม 1-9
สอนการเรียงลำดับตัวเลข โดยใช้ส้มเรียงต่อกัน และหยิบเลขมา 1-9 มาติดให้ถูกตามลำดับ

3.หน่วย ทุเรียน
ความแตกต่างของทุเรียน




4.หน่วย น้ำ
การทดลองของน้ำ

5.หน่วย มด
การเปรียบเทียบชนิดของมด
ขั้นนำ
เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงมด
ขั้นสอน
ครูถามลักษณะของมด แล้วให้เด็กๆตอบ
มดมีสีอะไร ขนาดของมด กลิ่นของมด ส่วนประกอบในร่างกายของมดและชนิดของมด
ขั้นสรุป
ครูทบทวนคำตอบ ที่เด็กตอบโดยใส่ในตาราง

6.หน่วย ดิน
ความแตกต่างของดิน

กิจกรรมที่ 2.ไข่ทาโกยากิ
Equipment:
       1.กะทะทาโกยากิ(Pan)
       2.ถ้วย(Cup)
       3.มีด(Knife)
       4.ช้อน ซ้อม(Cutlery)
       5.กรรไกร(Scissors)
       6.ผ้าเช็ดมือ(Napkin)
       7.กระดาษรองซับน้ำมัน(Facial tissue)
Ingredient:
       1.ไข่(Eggs)
       2.เนย(Butter)
       3.ปูอัด(Crab)
       4.แครอด(Cat survives)
       5.ต้นหอม,ผักชี(Onion)
       6.ซีอิ้วขาว(Soy Sauce)
       7.ข้าวสวย(Rice)
วิธีทำ จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม 
และให้เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมในการทำในแต่ละขั้นตอน

1.ตัดกระดาษ เพื่อใช้รองซับมัน

2. หันผักหรือเครื่องส่วนผสม แล้วนำไปวางที่กลุ่ม 4

3.ตอกไข่ แล้วตีให้เข้ากัน แล้วนำไปวางที่กลุ่ม 4

4.เครื่องปรุงและส่วนผสมต่างๆ
 

5.ทาเนยลงกะทะแทนน้ำมัน แล้วนำไข่ที่ปรุงไว้ในถ้วย มาเทลงกะทะทาโกยากิ โดยใช้เนย
 

        ไข่ทาโกยากิ พร้อมรับประทานค่ะ
แต่กลุ่มจะเวียนสลับกันจนครบทุกกลุ่มและมีส่วนร่วมการทำกิจกรรมทุกคน

Teaching Techniques:จะให้ทุกๆคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกคน โดยจะเวียนให้คบทุกกลุ่มและบอกขั้นตอน วิธีทำ และเทคนิคต่างๆในการทำสิ่งไหนที่เหมาะ ควรปฏิบัติ และข้อควรคำนึงในการทำกิจกรรมแต่ล่ะครั้ง

Evaluation:
ประเมินตนเอง:วันนี้ กลุ่มของดิฉัน หน่วยทุเรียน ได้ออกไปนำเสนอแผนการสอน แต่มีข้อบกพร่องหลายอย่าง เช่น ไม่ได้เตรียมตัวกันในกลุ่ม ไม่มีทุเรียนจริง ไม่ได้ศึกษาแผนตัวอย่างที่อาจารย์ให้ แต่กลุ่มพวกเราก็พยายามแก้ไข และทำออกมาให้ดีที่สุด
หลังจากนำเสนอแผนเสร็จก็ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆอาจารย์ ในการทำไข่ทาโกยากิ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
ปะเมินเพื่อน:เพื่อนมีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และทำกิจกรรมร่วมกันในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์:อาจารย์มีเทคนิคในการสอน และมีคะแนะนำให้นักศึกาตลอดเวลา เพื่อที่จะนำไปปรับปรุง ปรับประยุกต์ใช้ต่อไป