วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  23 กันยายน  2557
  ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.50 น.เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 12.00 น.
Knowledge:
Activities in class>>
1.กิจกรรมกังหันสัมพันธ์
Equipment:
steps:
พับกระดาษให้ปะกบกัน แล้ววาดภาพตามจินตนาการทั้งสองด้าน
ใช้เทปติดไม้ โดยให้ไม้อยู่ตร


what was:






สิ่งที่ได้รับจากการวาดรูปลงกระดาษทั้งสองด้าน 
ถ้าเกิดการหมุนจะทำให้เราเห็นภาพทั้งสองรวมกัน
เกิดเป็นภาพ สามมิติ...









2.กิจกรรมการทดลองกล้องTrials Camera:
จากเรีื่องความลับของแสง
แสง (light) คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย สมบัติพื้นฐานของแสง (และของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงคลื่น) ได้แก่
ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง)
ความถี่ (หรือความยาวคลื่น ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง) และ
โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้)
แสงจะแสดงคุณสมบัติทั้งของคลื่นและของอนุภาคในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค ธรรมชาติที่แท้จริงของแสงเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของฟิสิกส์สมัยใหม่
แสงมีคุณสมบัติทวิภาวะ กล่าวคือ
  1. แสงเป็นคลื่น : แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยที่ระนาบการสั่นของสนามแม่เหล็กตั้งฉากกับระนาบการสั่นของสนามไฟฟ้า และตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น และแสงก็มีการเลี้ยวเบนด้วย ซึ่งการเลี้ยวเบนก็แสดงคุณสมบัติของคลื่น
  2. แสงเป็นอนุภาค : แสงเป็นก้อนพลังงานมีค่าพลังงาน E = hf โดยที่ h คือค่าคงตัวของพลังค์ และ f คือความถี่ของแสง เรียกอนุภาคแสงว่าโฟตอน
การหักเหของแสง แสงนั้นวิ่งผ่านตัวกลางด้วยความเร็วจำกัด โดยไม่ขึ้นกับว่าผู้สังเกตการณ์นั้นเคลื่อนที่หรือไม่ เมื่อแสงวิ่งผ่านตัวกลางโปร่งใสเช่น อากาศ น้ำ หรือ แก้ว ความเร็วแสงในตัวกลางจะลดลงซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์การหักเหของแสง
สีและความยาวคลื่น ความยาวคลื่นที่แตกต่างกันนั้น จะถูกตรวจจับได้ด้วยดวงตาของมนุษย์ ซึ่งจะแปลผลด้วยสมองของมนุษย์ให้เป็นสีต่างๆ ในช่วง สีแดงซึ่งมีความยาวคลื่นยาวสุด (ความถี่ต่ำสุด) ที่มนุษย์มองเห็นได้ ถึงสีม่วง ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นสุด (ความถี่สูงสุด) ที่มนุษย์มองเห็นได้ ความถี่ที่อยู่ในช่วงนี้ จะมีสีส้ม, สีเหลือง, สีเขียว, สีน้ำเงิน และ สีคราม
Spectrum4websiteEval.png




The main event 6 event:

3.กิจกรรมนำเสนอบทความ
      1สอนลูกเรื่องพืช:อ่านเพิ่มเติม
      2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย:อ่านเพิ่มเติม
      3.แนวทางสอนคิดเติมวิทยาศษสตร์ให้เด็กอนุบาล:อ่านเพิ่มเติม
      4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ:อ่านเพิ่มเติม

4.กิจกรรม"หน่วย"ต่างๆและผลงานของแต่ละกลุ่ม
Applications:ในการทำกิจกรรมเราสามารถให้เด็กลงมือปฏิบัติได้จริง และให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ทำอย่างอิสระ
Evaluation:
ประเมินตนเอง:แต่งกายเหมาะสมแกการเรียน มีความพร้อมและมารอเรียนก่อนเวลา ตั้งใจอาจารย์ให้ความรู้และตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้างขณะที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน:มีความพร้อมมารอเรียน และร่วมตอนคำถามแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์:มีเทคนิคในการสอน โดยใช้คำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนและได้อธิบายกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก อย่างเข้าใจเพื่อที่จะนำไปสอนเด็ก
Learn more:
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย


วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  16 กันยายน  2557
  ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.30 น.เวลาเรียน 08.28 น.เวลาเลิกเรียน 10.00 น.

Knowledge:
การนำเสนอบทความของเพื่อนๆ
1.สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ:อ่านเพิ่มเติม
2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย:อ่านเพิ่มเติม

สรุปการเรียนรูและบทความ
ให้กลับไปฟังเรื่องความลับของแสงแล้วสรุปตามความเข้าใจ

เรื่อง ความลับของแสง(The Secret of Light)
         รอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างเราก็จะมองไม่เห็นเลย แสงช่วยให้พวกเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล แต่จะมีคลื่นยาวคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งได้ตั้ง 7 รอบภายใน 1 วินาที แสงช่วยในการมองเห็นของเราได้ เพราะแสงส่องสว่างลงมาโดนวัตถุจึงทำให้เรามองเห็นสิ่งของได้ นอกจากแสงจะต้องส่องลงมาโดนวัตถุแล้ว แสงยังต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นมาสะท้อนกับตาของเราด้วย จึงจะมองเห็นวัตถุของเราได้ ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจำสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง โลกเราอาศัยอยู่มีดวงอาทิตย์ค่อยส่องแสงมายังโลกตลอดเวลา นอกจากแสงจะทำให้เรามองเห็นมากมายแล้ว มนุษย์ยังนำแสงมาใช้ประโยชน์อีกมากมาย
คุณสมบัติหลักๆของแสง(Properties of light) เช่น แสงที่พุ่งเข้ามาหาเราจะเดินทางมาเป็นลักษณะยังไง หากระดาษสีดำ 2 แผ่นเจาะรูเท่ากันตรงกลาง ขั้นแรก เปิดหลอดไฟทิ้งไว้ในห้องมืด จากนั้นนำกระดาษแผ่นแรกมาว่างขั้นระหว่างหลอดไฟกับผนัง แสงไม่สามารถส่องผ่านกระดาษได้แต่สามารถส่องผ่านรูวงกลม ต่อมาก็นำกระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้าของกระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะตรงกัน แสงก็ยังพุ่งผ่านผนัง แสดงว่าแสงต้องพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง แต่ถ้าเราลองขยับกระดาษออกไปไม่ให้ตรงรูที่เจาะไว้และจะไปหยุดอยู่ที่กระดาษแผ่นที่สองไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้ แสดงว่าแสงต้องเดินทางมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
เพราะฉนั้น แสงจะเดินทางเป็นเส้นไปจนถึงวัตถุที่มากั้นของแสงและแสงจะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิม และมีวัตถุบ้างชนิดที่แสงส่องทะลุผ่าน 
วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติต่างกัน 3 แบบ โดย 2 แบบแรกจะมีคุณสมบัติคล้ายกันคือ แสงจะทะลุผ่านได้และแสงบ้างส่วนจะสะท้อนมาที่ตาของเราได้ ซึ่งทำให้เรามองทะลุวัตถุนั้นได้แล้วก็มองเห็นรูปร่างของมันได้ เราเรียกวัตถุ 2 ชนิดนี้ว่า"วัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส"
สำหรับวัตถุอีกแบบ 1 ที่เหลือ จะดูดกลืนแสงบ้างส่วนไว้แล้วก็จะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู้ตาเรา เรียกว่า"วัตถุทึบแสง"ซึ่งก็เป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น ไม้ หิน เหล็กและแม้กระทั่งตัวของเราก็เป็นวัตถุตัวทึบแสงเหมือนกัน
วัตถุในโลกนี้จะมีทั้งหมด 3 ชนิด วัตถุโปร่งแสง(Translucent objects)วัตถุโปร่งใส(Transparent objects) วัตถุทึบแสง(Opaque objects)
เราจึงแยกวัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส ที่เราต้องแยกวัตถุออกเป็น 2 แบบก็เพราะว่า วัตถุโปร่งแสงนั้นจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ด้านหลังวัตถุได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฟ่าและพลาสติกที่ขุ้นๆเป็นต้น และสำหรับวัตถุโปร่งใส เป็นวัตถุที่แสงผ่านได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส่หรือพลาสติกใส ซึ่งวัตถุ 2 อย่างนี้จะต่างกันที่แสงจะสามารถผ่านไปได้มากหรือน้อย และแสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเคลื่อนที่ที่เป็นเส้นตรงของแสง เราก็นำมาใช้ทำกล้องฉายภาพต่างๆได้
แสงกับกล้องเกี่ยวกันอย่างไร?
เริ่มแรก เครื่องฉายและกล้องรูเข้ม อุปกรณ์ กล้อง 1 ใบ ก้นข้างหนึ่งเจาะรูไว้ตรงกลางและอีกข้างแปะกระดาษไว้เป็นจอและมีภาพต้นแบบอีก 1 ภาพ เริ่มการส่องไฟจากภาพต้นแบบของเราโดยให้แสงผ่านรูเล็กๆจากก้นกล่อง ภาพที่เราเตรียมไว้ปรากฏอยู่บนกระดาษจึงเห็นเป็นกลับหัว ที่กลับหัวจากต้นแบบ เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเมื่อผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋องภาพที่ได้จึงเป็นภาพกลับหัว แต่ถ้าเจาะรูหลายๆรูก็จะเห็นภาพหลายภาพ และที่เราเห็นเป็นภาพหัวกลับก็เพราะว่า"แสงส่วนบนของภาพเป็นเส้นตรง"ผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านล่างของกระดาษไขและแสงส่วนล่างของภาพก็วิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษไข ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ่งถามีรูที่ก้นกล่อง 2 รูก็จะมีภาพปรากฏ 2 ภาพถ้าเราเจาะหลายๆรูก็จะปรากฏภาพหลายๆภาพเช่นกัน
รูตาของเราก็มีรูเล็กๆเหมือนกัน เรียกว่า รูรับแสง เหมือนรูที่กล่องกระดาษและภาพที่ผ่านรูรับแสงในตาเราก็เป็นหลับหัวเหมือนกัน แต่สมองของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ
การสะท้อนของแสง(Reflection of light) ใช้ไฟฉายกับกระจกเงา การที่แสงสะท้อนจากวัตถจึงพุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่สองลงมา แสงจะสะท้อนกลับไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสงลงมาเสมอ เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องมาเสมอ การนำกระจกเงามาวางและนำวัตถุมาวางจะเห็นเงาเกิดขึ้นแค่ 1 ภาพ แต่ถ้าเราเอากระจกอีก 1 บานมาวางแล้วทำมุม 90 องศา นำวัตถุมาวางตรงกลาง ก็จะเห็นภาพเกิดขึ้นเยอะแยะ ยิ่งวางกระจกแคบเท่าไหร่ภาพก็จะเยอะขึ้นมาก ถ้าวางกระจกให้ขนานกันก็จะเห็นภาพสะท้อนไปมาไม่มีที่สิ้นสุด
กล้องคาไดสโคป กระจกเงา 3 บาน มาประกลบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยมและเมื่อนำมาส่องก็จะเห็นภาพหลายๆภาพในกระจกสะท้อนออกมา โดยใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกอบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบลงกระบอกสามเหลี่ยมมันก็สะท้อนมาในนั้น จึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักการสะท้อนแสง(Reflection principle)ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ด้วย เรียกกล้องส่องภาพเหนือระดับสายตาหรือกล้องเปอริสโคป แสงจากวัตถุจะผ่านเข้ามาทางช่องที่เราด้านบนที่เราเจาะมากระทบบนกระจกเงาแผ่นบนมาสะท้อนกระจกเงาแผ่นล่างและสะท้อนเข้าสู่สายตาของเรา ทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงกว่าเรามากๆ
การหักเหของแสง(The refrative) แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิด เช่น เมื่อแสงเดินทางจากอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนักแน่กว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศแสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับเป็นเหมือนเดิม
ลักษณะการหักเหของแสง(Characteristics) นั้นจะหักเหเข้าแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำที่เรียกว่าเส้นปกติ
การหักเหของแสง ทำให้เห็นภาพที่หลอกตาโดยแผ่นแก้วหรือกระจกที่ถูกทำให้แผ่นโค้งนูนออกมาสามารถทำเป็นเลนส์และใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้จุดไฟเมื่อเลนส์กระจกสะท้อนกะบแสงลงสู่กระดาษ
การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้คนเรามองเห็นได้ชัดเจนแล้วยังทำให้เรามองเห็นวิวและแสงสีสวยๆต่างๆประกอบด้วย 7 สี ม่วง(Purple) คราม(Indigo) น้ำเงิน(Blue) เขียว(Green)เหลือง(Yellow) แสด(Orange) แดง(Red)แม่สีทั้ง 7 เมื่อรวมกันจะกลายเป็นสีขาว เมื่อมันส่งผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศจึงเกิดการหักเหผลที่ตามมาแสงขาวๆจะแยกตัวเป็นสีเตมของทั้ง 7 สี เรียกว่า แถบสเปกตรัมหรือรุ่งกินน้ำ(The next draft)
เราสามารถสร้างรุ่งกินน้ำได้เอง หาอ่างเล็กๆ 1ใบ และใส่น้ำครึ่งอ่างแล้วหากระจกแผ่นเล็กๆลองฉายแสงผ่านน้ำแล้วทำเป็นหมุนกระจกให้สะท้อนแสงที่ผ่านน้ำไปที่จอรับภาพก็จะทำให้เกิดรุ่งกินน้ำ
รุ่งกินน้ำจะเกิดขึ้นตรงกับดวงอาทิตย์ในเวลาหลังฝนตกใหม่ๆและจะเกิดการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำในอากาศ ซึ่งก็คลายๆกับการทดลองเมื่ออมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกันตรงกับวัตถุที่ออกมา ทำให้เรามองเห็นเปนสิ่งต่างๆ แต่เราใช้แม่สีแดง น้ำเงิน เขียว มาผสมกันก็เกิดสีต่างๆเงาเป็นสิ่งตรงกันกับแสงและเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง โดยส่องไฟไปเงาเป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ วัตถุที่เราเตรียมไว้ก็จะเกิดเงาอยู่ฝั่งตรงข้ามที่เราส่องไฟไปยังวัตถุและถ้าลองส่องไฟส่วนทางกับกระบอกแรกก็จะเกิดเงาจางๆทั้งสองด้าน เงาเกิดได้หลายแบบ เงาจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีวัตถุมาขว้างทางเดินของแสง

Evaluation:
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอน และร่วมตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน:ตั้งใจตอบคำถามร่วมกันในห้อง
ประเมินอาจาย์:มีการแนะนำเทิคนิคและวิธีการสอนเพื่อเกิดความเข้าใจง่ายขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติกับเด็กได้จิง




บันทึกอนุทึก ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  9 กันยายน  2557
  ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.30 น.เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
Article:
1.จุดประเด็นเด็กคิดนอกรอบ"กิจกรรมสนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์":อ่านเพิ่มเติม
2.ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์:อ่านเพิ่มเติม
3.วิทย์-คณิตศาสตร์ สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ:อ่านเพิ่มเติม
4.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์-คณิตศาสตร์ จากเสียงดนตรีบูรณาการวิทยาศาสตร์:อ่านเพิ่มเติม
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย:อ่านเพิ่มเติม


Knowledge:
 วันนี้อาจารย์ได้อธิบาย Blogger เพิ่มเติม และให้คำแนะนำในการทำ Blogger หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมาพูดบทความหน้าชั้นเรียน
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
         วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทาางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริง และทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
สรุป ความรู้ที่ได้รับ
Applications:
-การใช้คำถามปลายเปิด ในการตั้งคำถาม
-การสอนโดยตั้งคำถาม เพื่อให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการโต้ตอบ

Evaluation:
ประเมินตนเอง:วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาและได้ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน ร่วมตอบคำถามของอาจารย์
ประเมินเพื่อน:วันนี้เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ และเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนและร่วมกันตอบคำถามของอาจารย์ร่วมกัน
ประเมินอาจารย์:อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา ใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษา แต่งกายเรียบร้อย และให้คำแนะนำนักศึกษาค่ะ




วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557


Summary article

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดย มิส วัลลภา ขุมหิรัญ

 

        วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยี รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสที่ง 5 ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อกล้ามใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักการใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงาน
ด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน
ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างๆที่เหมาะสมกับวัย บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด วาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่ๆ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านการเล่นทางวิทยาศาสตร์

ที่มา:http://home.acn.ac.th/html_edu/cgi-bin/acn/main_php/print_informed.phpid_count_inform=188

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

       บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  2 กันยายน  2557
  ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.30 น.เวลาเรียน 08.25 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
Article:
1.วิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก:อ่านเพิ่มเติม
2.ภารกิจตามหาใบไม้:อ่านเพิ่มเติม
3.แม่เล็กของเด็กชายหอบกับการสร้างวิทยาศาสตร์บูรณาการ:อ่านเพิ่มเติม
4.การแยกเม็ด:อ่านเพิ่มเติม
5.เจ้าลูกโป่ง:อ่านเพิ่มเติม
Knowledge:
         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า มานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง
อาจารย์ได้อธิบาย คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้

พัฒนาการด้านสติปัญญา
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนและแตกต่างกัน
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคต่อเนื่อง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

     พัฒนาการด้านสติปัญญา ของเด็กวัยนี้ จะเน้นถึงความสามารถในการเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เด็กเริ่มฝึกหัดการติดต่อสื่อสารทั้งด้านภาษา ท่าทาง และการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ เช่น การพูดคุย การซักถาม การใช้ภาษาพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เด็กสามารถคิดเชื่อมโยง โดยสังเกตจากการเล่าเหตุการณ์หรือเรื่องราว ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องเกินความเป็นจริง ตามจินตนาการที่เด็กสร้างขึ้น หากผู้ใกล้ชิดหรือผู้ดูแลไม่เข้าใจจะคิดว่าเด็กโกหก ดังนั้น การจะช่วยสนับสนุนให้เด็กมีสติปัญญาที่ดี จึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กได้รับร่วมกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปภาพวงกลมตามแบบได้
-ใช้กรรไกลมือเดียวได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-บรับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้-ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
เด็กอายุ ปี
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-อบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง

พัฒนาการด้านสังคม
เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านสังคม
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่น-ชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสังคม
-แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสังคม
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
-รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี)

หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

นักการศึกษา / หลักการ แนวคิด


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

กีเซล (Gesell ) เชื่อว่า
-พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
-การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง

-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
-จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมผัสมือกับตา
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
-จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม

เพียเจท์ piaget
-พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กแรกเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
-พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6 ปี )
1.ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2.ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
-จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม

ดิวอี้ ( Dewey ) เชื่อว่า
-เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ


จัดบรรยายในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาส เล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อม
สกินเนอร์ ( Skinner )
-ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมมา เด็กสนใจที่ทำต่อไป
-เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
-ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
-ไม่เอาเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน

เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )
-ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
-เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
-เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ

จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์



เฟรอเบล ( Froeble )
-ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการ
กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
-การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
เอลคายน์ ( Elkind )
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
-จัดบรรยายในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาส เล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง



Applications:นำทฤษฎีและความรู้ วิธีการเทคนิคต่างๆไปประยุกต์ และพัฒนาตนเองต่อไป

Evaluation:
ประเมินตนเอง:วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้
ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจฟังตั้งใจเรียนและแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์:วันนี้อาจารย์แต้งกายเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพในการสอนนักศึกษาค่ะ