วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
          วันอังคาร ที่  16 กันยายน  2557
  ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20
      เวลาเข้าสอน 08.30 น.เวลาเรียน 08.28 น.เวลาเลิกเรียน 10.00 น.

Knowledge:
การนำเสนอบทความของเพื่อนๆ
1.สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ:อ่านเพิ่มเติม
2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย:อ่านเพิ่มเติม

สรุปการเรียนรูและบทความ
ให้กลับไปฟังเรื่องความลับของแสงแล้วสรุปตามความเข้าใจ

เรื่อง ความลับของแสง(The Secret of Light)
         รอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างเราก็จะมองไม่เห็นเลย แสงช่วยให้พวกเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล แต่จะมีคลื่นยาวคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งได้ตั้ง 7 รอบภายใน 1 วินาที แสงช่วยในการมองเห็นของเราได้ เพราะแสงส่องสว่างลงมาโดนวัตถุจึงทำให้เรามองเห็นสิ่งของได้ นอกจากแสงจะต้องส่องลงมาโดนวัตถุแล้ว แสงยังต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นมาสะท้อนกับตาของเราด้วย จึงจะมองเห็นวัตถุของเราได้ ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจำสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง โลกเราอาศัยอยู่มีดวงอาทิตย์ค่อยส่องแสงมายังโลกตลอดเวลา นอกจากแสงจะทำให้เรามองเห็นมากมายแล้ว มนุษย์ยังนำแสงมาใช้ประโยชน์อีกมากมาย
คุณสมบัติหลักๆของแสง(Properties of light) เช่น แสงที่พุ่งเข้ามาหาเราจะเดินทางมาเป็นลักษณะยังไง หากระดาษสีดำ 2 แผ่นเจาะรูเท่ากันตรงกลาง ขั้นแรก เปิดหลอดไฟทิ้งไว้ในห้องมืด จากนั้นนำกระดาษแผ่นแรกมาว่างขั้นระหว่างหลอดไฟกับผนัง แสงไม่สามารถส่องผ่านกระดาษได้แต่สามารถส่องผ่านรูวงกลม ต่อมาก็นำกระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้าของกระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะตรงกัน แสงก็ยังพุ่งผ่านผนัง แสดงว่าแสงต้องพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง แต่ถ้าเราลองขยับกระดาษออกไปไม่ให้ตรงรูที่เจาะไว้และจะไปหยุดอยู่ที่กระดาษแผ่นที่สองไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้ แสดงว่าแสงต้องเดินทางมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
เพราะฉนั้น แสงจะเดินทางเป็นเส้นไปจนถึงวัตถุที่มากั้นของแสงและแสงจะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิม และมีวัตถุบ้างชนิดที่แสงส่องทะลุผ่าน 
วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติต่างกัน 3 แบบ โดย 2 แบบแรกจะมีคุณสมบัติคล้ายกันคือ แสงจะทะลุผ่านได้และแสงบ้างส่วนจะสะท้อนมาที่ตาของเราได้ ซึ่งทำให้เรามองทะลุวัตถุนั้นได้แล้วก็มองเห็นรูปร่างของมันได้ เราเรียกวัตถุ 2 ชนิดนี้ว่า"วัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส"
สำหรับวัตถุอีกแบบ 1 ที่เหลือ จะดูดกลืนแสงบ้างส่วนไว้แล้วก็จะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู้ตาเรา เรียกว่า"วัตถุทึบแสง"ซึ่งก็เป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น ไม้ หิน เหล็กและแม้กระทั่งตัวของเราก็เป็นวัตถุตัวทึบแสงเหมือนกัน
วัตถุในโลกนี้จะมีทั้งหมด 3 ชนิด วัตถุโปร่งแสง(Translucent objects)วัตถุโปร่งใส(Transparent objects) วัตถุทึบแสง(Opaque objects)
เราจึงแยกวัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส ที่เราต้องแยกวัตถุออกเป็น 2 แบบก็เพราะว่า วัตถุโปร่งแสงนั้นจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ด้านหลังวัตถุได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฟ่าและพลาสติกที่ขุ้นๆเป็นต้น และสำหรับวัตถุโปร่งใส เป็นวัตถุที่แสงผ่านได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส่หรือพลาสติกใส ซึ่งวัตถุ 2 อย่างนี้จะต่างกันที่แสงจะสามารถผ่านไปได้มากหรือน้อย และแสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเคลื่อนที่ที่เป็นเส้นตรงของแสง เราก็นำมาใช้ทำกล้องฉายภาพต่างๆได้
แสงกับกล้องเกี่ยวกันอย่างไร?
เริ่มแรก เครื่องฉายและกล้องรูเข้ม อุปกรณ์ กล้อง 1 ใบ ก้นข้างหนึ่งเจาะรูไว้ตรงกลางและอีกข้างแปะกระดาษไว้เป็นจอและมีภาพต้นแบบอีก 1 ภาพ เริ่มการส่องไฟจากภาพต้นแบบของเราโดยให้แสงผ่านรูเล็กๆจากก้นกล่อง ภาพที่เราเตรียมไว้ปรากฏอยู่บนกระดาษจึงเห็นเป็นกลับหัว ที่กลับหัวจากต้นแบบ เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเมื่อผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋องภาพที่ได้จึงเป็นภาพกลับหัว แต่ถ้าเจาะรูหลายๆรูก็จะเห็นภาพหลายภาพ และที่เราเห็นเป็นภาพหัวกลับก็เพราะว่า"แสงส่วนบนของภาพเป็นเส้นตรง"ผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านล่างของกระดาษไขและแสงส่วนล่างของภาพก็วิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษไข ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ่งถามีรูที่ก้นกล่อง 2 รูก็จะมีภาพปรากฏ 2 ภาพถ้าเราเจาะหลายๆรูก็จะปรากฏภาพหลายๆภาพเช่นกัน
รูตาของเราก็มีรูเล็กๆเหมือนกัน เรียกว่า รูรับแสง เหมือนรูที่กล่องกระดาษและภาพที่ผ่านรูรับแสงในตาเราก็เป็นหลับหัวเหมือนกัน แต่สมองของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ
การสะท้อนของแสง(Reflection of light) ใช้ไฟฉายกับกระจกเงา การที่แสงสะท้อนจากวัตถจึงพุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่สองลงมา แสงจะสะท้อนกลับไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสงลงมาเสมอ เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องมาเสมอ การนำกระจกเงามาวางและนำวัตถุมาวางจะเห็นเงาเกิดขึ้นแค่ 1 ภาพ แต่ถ้าเราเอากระจกอีก 1 บานมาวางแล้วทำมุม 90 องศา นำวัตถุมาวางตรงกลาง ก็จะเห็นภาพเกิดขึ้นเยอะแยะ ยิ่งวางกระจกแคบเท่าไหร่ภาพก็จะเยอะขึ้นมาก ถ้าวางกระจกให้ขนานกันก็จะเห็นภาพสะท้อนไปมาไม่มีที่สิ้นสุด
กล้องคาไดสโคป กระจกเงา 3 บาน มาประกลบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยมและเมื่อนำมาส่องก็จะเห็นภาพหลายๆภาพในกระจกสะท้อนออกมา โดยใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกอบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบลงกระบอกสามเหลี่ยมมันก็สะท้อนมาในนั้น จึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักการสะท้อนแสง(Reflection principle)ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ด้วย เรียกกล้องส่องภาพเหนือระดับสายตาหรือกล้องเปอริสโคป แสงจากวัตถุจะผ่านเข้ามาทางช่องที่เราด้านบนที่เราเจาะมากระทบบนกระจกเงาแผ่นบนมาสะท้อนกระจกเงาแผ่นล่างและสะท้อนเข้าสู่สายตาของเรา ทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงกว่าเรามากๆ
การหักเหของแสง(The refrative) แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิด เช่น เมื่อแสงเดินทางจากอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนักแน่กว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศแสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับเป็นเหมือนเดิม
ลักษณะการหักเหของแสง(Characteristics) นั้นจะหักเหเข้าแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำที่เรียกว่าเส้นปกติ
การหักเหของแสง ทำให้เห็นภาพที่หลอกตาโดยแผ่นแก้วหรือกระจกที่ถูกทำให้แผ่นโค้งนูนออกมาสามารถทำเป็นเลนส์และใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้จุดไฟเมื่อเลนส์กระจกสะท้อนกะบแสงลงสู่กระดาษ
การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้คนเรามองเห็นได้ชัดเจนแล้วยังทำให้เรามองเห็นวิวและแสงสีสวยๆต่างๆประกอบด้วย 7 สี ม่วง(Purple) คราม(Indigo) น้ำเงิน(Blue) เขียว(Green)เหลือง(Yellow) แสด(Orange) แดง(Red)แม่สีทั้ง 7 เมื่อรวมกันจะกลายเป็นสีขาว เมื่อมันส่งผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศจึงเกิดการหักเหผลที่ตามมาแสงขาวๆจะแยกตัวเป็นสีเตมของทั้ง 7 สี เรียกว่า แถบสเปกตรัมหรือรุ่งกินน้ำ(The next draft)
เราสามารถสร้างรุ่งกินน้ำได้เอง หาอ่างเล็กๆ 1ใบ และใส่น้ำครึ่งอ่างแล้วหากระจกแผ่นเล็กๆลองฉายแสงผ่านน้ำแล้วทำเป็นหมุนกระจกให้สะท้อนแสงที่ผ่านน้ำไปที่จอรับภาพก็จะทำให้เกิดรุ่งกินน้ำ
รุ่งกินน้ำจะเกิดขึ้นตรงกับดวงอาทิตย์ในเวลาหลังฝนตกใหม่ๆและจะเกิดการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำในอากาศ ซึ่งก็คลายๆกับการทดลองเมื่ออมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกันตรงกับวัตถุที่ออกมา ทำให้เรามองเห็นเปนสิ่งต่างๆ แต่เราใช้แม่สีแดง น้ำเงิน เขียว มาผสมกันก็เกิดสีต่างๆเงาเป็นสิ่งตรงกันกับแสงและเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง โดยส่องไฟไปเงาเป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ วัตถุที่เราเตรียมไว้ก็จะเกิดเงาอยู่ฝั่งตรงข้ามที่เราส่องไฟไปยังวัตถุและถ้าลองส่องไฟส่วนทางกับกระบอกแรกก็จะเกิดเงาจางๆทั้งสองด้าน เงาเกิดได้หลายแบบ เงาจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีวัตถุมาขว้างทางเดินของแสง

Evaluation:
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอน และร่วมตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน:ตั้งใจตอบคำถามร่วมกันในห้อง
ประเมินอาจาย์:มีการแนะนำเทิคนิคและวิธีการสอนเพื่อเกิดความเข้าใจง่ายขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติกับเด็กได้จิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น